วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Newspaper Scanning(2)

Singapore Airlines : losing altitude 
February 3, 2012 7:23 pm

                Oh, to be Singapore Airlines. Undershoot profit forecasts, halving net income in the process, and watch shares slip just a little. It helps that Temasek, the state investment agency, holds more than half the stock. This was the carrier’s fifth profit fall in a row. Compared with rivals, its shares are starting to look expensive.
                Asia is still where airlines want to be. The International Air Transport Association predicts 2 per cent growth in passenger travel in the region next year, just below the 2.2 per cent seen for the US. However, net profits for the region are expected to rise by 2.1 per cent, compared with 1.7 per cent for US carriers. But meeting bottom-line targets will be hard given pressures such as rising jet fuel prices. Just ask Singapore Airlines. It did in fact squeeze out a 1 per cent rise in revenues compared with last year, but that was swamped by a 12 per cent rise in costs, almost all related to fuel. Its operating margin shrank accordingly, from 13 per cent to 4 per cent. Ouch.
              That only puts more emphasis on efficiency. This is where Singapore Airlines falls a little short: its load factor was 77 per cent last quarter. That is just above Iata’s December average of 76 per cent for the region, but below the latest figures of 80 per cent and 79 per cent from rivals Qantas andCathay Pacific. On other measures, however, Singapore Airlines is highly rated, especially compared with Qantas. The Australian airline trades at 0.3 times its sales and 10 times forward earnings, well below Singapore Airlines’ 0.9 and 18 times, and Cathay Pacific’s 0.6 and 11 times.True, Qantas has been hampered by labour relations, and investors also fear a cash call to fund fleet replacement plans. But, compared with Singapore Airlines, Qantas is cheap, battle-hardened and has made some progress on costs. It appears the better bet, for now.


                    ไม่น่าเชื่อว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์จะมีการคาดการณ์ผลกำไรที่ต่ำกว่าเป้าหมาย  มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานลดลง  และหุ้นไม่มีความคล่องตัว   ส่งผลให้ Temasek ซึ่งเป็นหน่วยงานการลงทุนของรัฐ ได้เข้ามาถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่ง  ครั้งนี้ถือเป็นการลดลงของกำไรครั้งที่ 5 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์   เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ราคาหุ้นของพวกเขาเริ่มมีราคาแพงขึ้น
              ทวีปเอเชียยังคงเป็นที่ที่สายการบินหลายสายต้องการอยู่    The International Air Transport Association  ได้ทำนายว่า ปีต่อไปจะมีการเติบโตอีก 2% ในผู้โดยสารแถบเอเชีย  ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเพียงแค่ 2%จากผู้โดยสารในทวีปอเมริกา  อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิของสายการบินในทวีปเอเชียถูกคาดว่าจะเพิ่มอีก 2.1%  ในขณะที่สายการบินในทวีปอเมริกาจะเพิ่มอีก 1.7%   แต่เป้าหมายระดับล่างคาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น   ความจริงแล้ว สิงคโปร์แอร์ไลน์สามารถทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน  แต่มันก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 12% ซึ่ง 12% นี้ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเชื้อเพลิง  ดังนั้นกำไรจากการดำเนินงานของสิงคโปร์แอร์ไลน์จึงลดลงจาก 13% เป็น 4%
                การมุ่งเน้นเพียงประสิทธิภาพ   ทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์มีการลดลงเล็กน้อยในผลการดำเนินงานในระยะสั้น กล่าวคือ เมื่อไตรมาสที่แล้ว load factor ของสิงคโปร์แอร์ไลน์อยู่ที่ 77%  ซึ่งถือว่าอยู่เหนือค่าเฉลี่ยของสายการบินในทวีปเอเชียที่อยู่ที่ 76%  แต่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง  Qantas (80%) และ Cathay Pacific (79%)  แต่อย่างไรก็ตามสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยังคงมีอัตราของการดำเนินงานอื่นๆที่สูง  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Qantas    Qantas  ถูกขัดขวางจากแรงงานสัมพันธ์และนักลงทุนของ Qantas ยังเกรงกลัวการเรียกเงินสดเพื่อกองทุนแผนการทดแทนฝูงบินอยู่  เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์แอร์ไลน์  ถือว่า Qantas มีราคาถูกกว่า  ดังนั้นการต่อสู้ที่แข็งแกร่งและการมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ถูกกว่า ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับในตอนนี้

    ความคิดเห็น
                จะเห็นว่าถึงแม้สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทแย่ลง  แต่สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยังต่อสู้อย่างแข็งแกร่งกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น  จนในปัจจุบันสามารถกลับมายืนหยัดเหนือคู่แข่งได้ และได้ชื่อว่าเป็นสายการบินที่ดีที่สุด 1 ใน 3 ของโลก  โดยแนวความคิดที่สิงคโปร์แอร์ไลน์นำมาใช้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ คือ การตั้งมั่นอยู่ในสติที่ดีเพื่อให้มองเห็นถึงทางออกของปัญหา  ทำให้สามารถพลิกวิกฤติกลับมาเป็นผลกำไรได้  ด้วยการมองเห็นถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีความต้องการ และที่สำคัญยังมีกำลังซื้ออยู่  ดังนั้นสิงคโปร์แอร์ไลน์จึงตัดสินใจลงทุนปรับปรุงเครื่องบินทำเก้าอี้เป็นชั้นธุรกิจ (business class) ทั้งลำ  ส่งผลให้ได้รับความนิยมทันทีและสามารถจำหน่ายตั๋วได้ดีกว่าเดิม

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Newspaper Scanning(1)

 Singapore Airlines Finds Cracks 

In Wings Of 4 Airbus A380s 

By David Pearson, Dow Jones Newswires
JANUARY 25, 2012, 12:42 P.M

              PARIS (Dow Jones)--Singapore Airlines Ltd. (C6L.SG) said Wednesday that inspections on four of its Airbus A380 superjumbos have revealed cracks in the wing rib brackets inside the wings of the double-decker aircraft and that repairs have either been carried out or are underway.

                       Parts have been replaced on one of the aircraft and it is back in service, the airline said. Repairs will be carried out on the other three planes, it said.
                       The inspections were ordered last week by the European Aviation Safety Agency on a third of the 60 A380s in service.
                       The plane is made by Airbus, a division of European Aeronautic Defence & Space Co NV (EAD.FR).
                       Singapore Airlines said the EASA Airworthiness Directive requires that it carry out checks on six of its 16 A380s by the morning of Jan. 28 and to carry out any necessary repairs.
                       The EASA directive also applies to aircraft operated by Dubai-based Emirates Airline and Air France-KLM (AF.FR) with a high number of takeoffs and landings.
                       Singapore Airlines said: "The safety of our customers and crew is our number one priority and we will ensure that we take whatever action is needed for the continued safe operation of our A380 fleet. We have been liaising closely with Airbus and are keeping the relevant regulatory authorities fully informed."
                       Airbus has insisted that the aircraft are safe to fly. 


             จากข่าวสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้กล่าวเมื่อวันพุธ ที่ 25 มกราคม 2555 ว่า จากการตรวจสภาพเครื่องบินแอบัส A380 superjumbo จำนวน 4 ลำ  พบรอยแตกอยู่บริเวณเอ็นปีกของเครื่องบิน  และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข
เครื่องบินลำหนึ่งสามารถนำกลับมาใช้บริการได้ด้วยการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางอย่าง  ส่วนอีก 3 ลำที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการซ่อมแซม  
การตรวจสอบครั้งนี้ถูกสั่งโดยสำนักงานความปลอดภัยการบินยุโรป เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เครื่องบินแอบัส A380 superjumbo นี้ถูกผลิตโดย Airbus  ซึ่งเป็นแผนกของ European Aeronautic Defence & Space Co NV (EAD.FR)
สิงคโปร์แอร์ไลน์ กล่าวว่า EASA Airworthiness Directive ได้กำหนดให้ SIA ต้องดำเนินการตรวจสภาพเครื่องบินแอบัส A380 ทุกลำ  และดำเนินการซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็น
EASA directive ยังนำมาใช้กับ Emirates Airline ของดูไบ และ Air France-KLM (AF.FR) ซึ่งมีจำนวนครั้งของการ takeoffs และ landings  ในจำนวนที่สูง
สิงคโปร์แอร์ไลน์ กล่าวว่า "ความปลอดภัยของลูกค้าและลูกเรือของเราเป็นเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและพวกเรารับรองได้ว่าพวกเราได้ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องบินอยู่เสมอ  เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบินแอบัส A380 ของเรา  เนื่องจากพวกเราได้รับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอย่างใกล้ชิดจาก Airbus ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินแอบัส A380
Airbus ได้ยืนยันว่าเครื่องบินแอบัส A380 มีความปลอดภัยในการบิน


ความคิดเห็น

การที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าและลูกเรือเป็นอย่างมาก  ดังจะเห็นได้จากข่าวข้างต้นที่จะมีการตรวจสภาพและบำรุงรักษาเครื่องบินอยู่เสมอ   ถึงแม้ว่าการบำรุงรักษาแต่ละครั้งจะต้องเสียต้นทุนมากก็ตาม  จึงแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ให้ความสำคัญกับ Stakeholder  (เช่น ลูกค้า, พนักงาน, ฯลฯ)  นอกเหนือจาก Shareholder  เนื่องจากสิงคโปร์แอร์ไลน์ไม่ได้ดำเนินงานเพื่อมุ่งหวังกำไรเพียงอย่างเดียว  แต่พวกเขามุ่งถึงคุณภาพของบริการและความปลอดภัยของผู้โดยสารด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

What did I learn ? (30/01/2012) - Rationality & Irrationality

        ทำไม Rationality จึงทำงานได้ไม่ดี  แต่ Irrationality จึงทำงานได้สำเร็จ  เพราะเหตุใด ?



Rationality   คือ การดำเนินงานโดยใช้หลักของเหตุผล มีหลักตายตัวในการทำงาน ต้องทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้ การตัดสินใจต่างๆจะต้องมีเหตุและผลเข้ามาเกี่ยวข้อง   โดยหลัก Rationality  นั้นคือการดำเนินงานภายใต้การควบคุมพฤติกรรมของทุกคนในองค์กรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้โดยผู้บริหารที่ทำการตกลงร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็นการดำเนินงานโดยรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง หรือแบบ Top down  ส่งผลให้กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่จริง เนื่องจากถูกกำหนดจากผู้บริหารที่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง  จึงทำให้ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงในการทำงาน   และการวางแผนที่ชัดเจนเช่นนี้อาจทำให้องค์กรขาดความยืดหยุ่นและไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามกระแสของโลกหรือตามคู่แข่งขันได้ไม่ทัน  หากแผนการที่วางไว้นั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการหรือไม่ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าในปัจจุบัน   ดังนั้นการดำเนินงานเช่นนี้จึงไม่ค่อยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   นอกจากนี้การดำเนินงานโดยรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางยังทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดด้วย ซึ่งได้แก่ ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กร    แต่การดำเนินงานแบบ Rationality ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเสมอไป  เพราะการดำเนินงานแบบ Rationality นั้น  จะทำให้องค์กรมีระเบียบวินัยและมีมาตรฐาน สามารถควบคุมได้ มีความชัดเจนในหน้าที่ นอกจากนี้ การที่องค์กรมีแบบแผน มาตรฐานและการควบคุมการดำเนินงานต่างๆ จะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำได้อย่างดี ซึ่งเหมาะกับระบบข้าราชการ หรือองค์กรที่มีลักษณะแบบเครื่องจักร 

ในขณะที่การดำเนินงานแบบ Irrationality สามารถทำงานได้ดีกว่าในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะแนวคิดแบบนี้มีความยืดหยุ่นโดยจะกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจะใช้หลายกลไกร่วมกัน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ   เนื่องจากการดำเนินงานแบบ Irrationality  เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของธุรกิจได้แสดงความเห็นและมีโอกาสร่วมในการตัดสินใจถึงการกำหนดทิศทางขององค์กร ทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในธุรกิจ เนื่องจากพนักงานเป็นคนที่ได้ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นจึงทราบถึงปัญหาที่แท้จริงในการทำงาน เพื่อให้องค์กรสามารถหาทางแก้ปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่  การดำเนินงานแบบ Irrationality จะสามารถทำงานในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านอย่างรวดเร็ว  ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินงานแบบ Rationality  

What did I learn ? (30/01/2012)


Singapore Airlines - Strategic As















วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I learn ? (23/01/2012)



สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเรียน เมื่อวันที่  23/01/2555  คือ


ลักษณะที่สำคัญของ  strategy  ได้แก่

               1. Response  คือ  กลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก(Driver)ได้  ซึ่งความสามารถนี้เรียกว่า Core competencies หรือ Organization capacity ซึ่งถือเป็น  Key  access  factor  โดยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง(Driver)นี้  ประกอบด้วย  Political,  Economic, Social, Technology,  และ Environment   หรือเรียกรวมกันว่า “PESTE”
               2. Fitness  คือ  การหาจุดที่เหมาะสมระหว่างผลิตภัณฑ์ที่เราเป็นผู้ผลิต กับตลาดซึ่งเป็นผู้บริโภคสินค้าของเรา  โดยกลยุทธ์ที่ดีจะต้องทำให้ Product(organization) = Market (environment)  ซึ่งองค์กรอาจนำเทคนิค SWOT เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดที่เหมาะสมดังกล่าวได้
สภาพแวดล้อมในแต่ละระดับย่อมมีความแตกต่างกันไป  ดังนั้นองค์กรจึงควรเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละระดับ  ดังนี้
ระดับ Macro  เนื่องมีขอบเขตที่กว้างมาก  ดังนั้นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้จึงเป็นCorporate  Strategy
ระดับ Industry  กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้ คือ Competitive  Strategy  หรือ  Business Strategy
ระดับ Functional  กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้ คือ Functional  Strategy  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Business Strategy
                3. Alignment  คือ  กลยุทธ์ที่ดีต้องทำให้การดำเนินงานขององค์กรในทุกระดับมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  โดยองค์กรอาจนำเครื่องมือ Balance score card  เข้ามาช่วยเพื่อให้องค์กรมีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
               4. Symmetry  คือ  การมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Harmonize หรือ Symbiosis)  โดยส่วนใหญ่แล้วหลักของ Symmetry นี้ เราจะใช้นำไปในเรื่องของ พันธมิตรทางธุรกิจ
               “พันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance)  คือการตกลงใหความรวมมือกันในการทําธุรกิจระหวางบริษัท ตั้งแต 2  บริษัทขึ้นไป โดยอาจจะเปนการใหความรวมมือกันในดานการขายสินคาการซื้อวัตถุดิบ การสงเสริมการขาย หรือในเรื่องอื่นๆก็ไดทั้งนี้เพื่อเปนการเสริมความแข็งแกรงแกบริษัทให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอยางเชนทุกวันนี้
     5. Equilibrium  คือ การทำให้เกิด Balance of contrast forces   กล่าวคือ  การทำให้เกิดความสมดุลระหว่างแรง 2 ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน


Strategic  Thinking  จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้จากในห้องเรียนนั้น  ประกอบด้วย

                   1. Scope  คือ  ขอบเขตที่กำหนดว่าองค์กรเป็นใครในอุตสาหกรรมนั้นๆ  และอะไรคือสิ่งที่องค์กรควรทำหรือไม่ควรทำ (Do, Don’t)   Scope  เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า  Corporate  Strategy  ซึ่งจะถูกกำหนดโดย  Mission  ขององค์กรนั้นๆ
“ พันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์หรือความมุงหมายพื้นฐานขององคกรที่จะดําเนินการในระยะยาวอาจจะกล่าวได้ว่าเปนขอบเขตในการดําเนินงานขององคกรหรือบริษัทก็ได้   พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกตางและคุณคาขององคกรแตละแหงไดอยางชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบงบอกวาธุรกิจขององคกรคืออะไร  อะไรคือสิ่งที่องคกรตองการจะเปน และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
Scope  ประกอบด้วย  Market (เช่น Global  หรือ  Domestic ), Process ( เช่น ครบวงจร หรือ บางส่วน )  และ Product ( เช่น  เบา, หนัก, หรือ ไฮเทค )

                   2. Long  Term  คือ  การวิเคราะห์อดีต และจำลองเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อให้เห็นอนาคตที่ชัดเจน  แล้วจึงวางแผนในปัจจุบัน ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะใช้แนวคิดแบบ Logic Thinking (หลักของเหตุผล การกระทำในปัจจุบันจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ในอนาคต)  และในการจำลองเหตุการณ์ในอนาคตนี้ต้องใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจควบคู่กับการใช้สัญชาตญาณของตนเองเสมอ
การทำนายอนาคตนั้นมี 3 แบบ คือ
1) Forecasting  (การทำนาย) คือ การประเมินว่าจะเกิดอะไรในอนาคต  โดยมากจะทำโดยการนำข้อมูลจากอดีตมาผสมผสานกันอย่างเป็นระบบ  แล้วทำการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรในอนาคต
2) Scenario Analysis  (การวิเคราะห์สถานการณ์) คือ  กระบวนการสำหรับวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณาจากสถานการณ์ในทางเลือกที่เป็นไปได้   โดยสถานการณ์นั้นสร้างขึ้นมาโดยอาศัยโครงเรื่อง (plot) ที่มาจากแนวโน้ม (trends) ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต สถานการณ์จึงมีได้หลายสถานการณ์ขึ้นอยู่กับชุดแนวโน้มและความไม่แน่นอนที่เลือกมาประกอบกันเป็นโครงเรื่อง
3) Foresight  (การมองอนาคต)  เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างเป็นระบบ ในการมองไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งเสริมให้เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การมองอนาคตไม่ใช่การทำนาย (forescast) ที่สันนิษฐานอนาคตเพียงรูปแบบเดียว หลักสำคัญของการมองอนาคตคือ การดำเนินการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน และมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดและที่ยังไม่เห็นชัด ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของอนาคต และทำให้เห็นลู่ทางที่จะต้องกระทำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

3. Advantage  คือ ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)  ซึ่งมี 3 แบบ ได้แก่
1) Monopoly Rent (การผูกขาด)  คือ  การที่ผู้ผลิตรวมตัวกันได้ หรือมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะกำหนด
ราคาสินค้าได้ โดยผู้ผลิคที่มีอำนาจผูกขาดมักจะตั้งราคาที่สูงกว่าราคาที่กำหนดโดยตลาดเสรี 
2) Richardian Rent คือ  การที่องค์กรมีความเหนือกว่าคนอื่น  เช่น  การมีทรัพยากรที่หายาก (Scared Resources) เป็นต้น  ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน 
3) Entreprenuerial Rent หรือ Schumpeterian Rent คือ  การที่องค์กรมีกำไรที่เหนือกว่ากำไรปกติหรือเหนือกว่าคู่แข่ง  โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ประกอบการมีทักษะหรือเงินลงทุนในการบริหารจัดการ บริษัทอาจลงทุนในการโฆษณา  การฝึกอบรมของพนักงาน  และอื่น ๆ เงินลงทุนเหล่านี้จะส่งผลในราคาที่สูงขึ้น (แบรนด์) หรือต้นทุนที่ลดลง (เทคโนโลยีที่ดีกว่า)  ทำให้ได้กำไรมากกว่าคู่แข่ง

4                 4. Environment  มักจะมีการเปลี่ยนอยู่เสมอ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรใช้  Stakeholder Analysis เราต้องวิเคราะห์ที่ผู้กระทำ  ไม่ใช่ภาวการณ์กระทำ
“Stakeholder Analysis (การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) เป็นการวิเคราะห์กรณีปัญหาหรือวิเคราะห์โครงการข้อมูลของกลุ่มเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารโครงการ ในการจัดทำโครงการ หรือสร้างสรรค์แนวความคิดของผู้นำ


              แต่จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเพิ่มเติมจากทางอินเตอร์เน็ต พบว่า  Strategic  Thinking  มีความแตกต่างจากที่อาจารย์กล่าวไปบ้าง  ดังนี้
                จากเว็บไซต์ได้กล่าวว่า ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) คือเรื่องสำคัญที่ไม่ได้ให้ความสนใจกันมากนักในการเรียนรู้ หรือการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ เนื่องจากเป็นรูปแบบของการพัฒนาแบบต่อเนื่อง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นกึ๋นของผู้นำที่ต้องมีติดตัว แต่ในความจริงแล้วสามารถฝึกได้ และควรให้ความสำคัญมากในขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์
Strategic Thinking เป็นกระบวนการคิดที่ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องฝึกตลอดเวลา (On going process) ให้เกิดเป็นทักษะ ความคิดเชิงกลยุทธ์เกิดขึ้นได้ทั้งในงาน และในการมองเห็นทั่วๆไป ผู้ที่ฝึกคิดเชิงกลยุทธ์มักจะมี คำถาม’ (Why) อยู่เสมอ เมื่อได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องค้นหาคำตอบ เกิดการวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ อย่างรอบด้าน  ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้นำควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.             การคิดบวก
2.             มองภาพรวม
3.             หาข้อมูลรอบด้าน
4.             คิดหลากหลาย
5.             มี FOCUS
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://victor2514.wordpress.com/tag/strategic-thinking/
             
               แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่า Strategic  Thinking  จะควรคำนึงถึงสิ่งใด  แต่สุดท้ายก็ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามที่องค์กรได้คาดหวังไว้








วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Scenario Analysis

What is Scenario Analysis ???


              จากคลิปวีดีโอนี้และจากการค้นคว้าใน Wikipedia  ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่า  "Scenario Analysis"  มากขึ้น  กล่าวคือ  Scenario Analysis หรือ การวิเคราะห์สถานการณ์ คือ  กระบวนการสำหรับวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณาจากสถานการณ์ในทางเลือกที่เป็นไปได้   โดยสถานการณ์นั้นสร้างขึ้นมาโดยอาศัยโครงเรื่อง (plot) ที่มาจากแนวโน้ม (trends) ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต สถานการณ์จึงมีได้หลายสถานการณ์ขึ้นอยู่กับชุดแนวโน้มและความไม่แน่นอนที่เลือกมาประกอบกันเป็นโครงเรื่อง เราจะเลือกโครงเรื่องที่แตกต่างกันและครอบคลุมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตให้มากที่สุดโดยทั่วไปประมาณ 3-4 โครงเรื่อง ดังนั้น สถานการณ์คือ ภาพรวมเหตุการณ์ในอนาคตที่เป็นจริงได้ (possible) และเกี่ยวข้องกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจ (relevant) แต่ละภาพจะเป็นการดำเนินเรื่องเล่าที่ไม่มีการขัดแย้งภายใน และมีทั้งเหตุการณ์ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ กระบวนการสร้างสถานการณ์จะกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้กล้าคิดนอกกรอบปัจจุบัน กล้าหาวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิม การสร้างสถานการณ์เป็นการซักซ้อมอนาคตให้เข้าใจถึงผลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดันต่างๆ ซึ่งอาจเสริมกันหรือหักล้างกัน ซึ่งอาจชักนำให้เกิดการตัดสินในในประเด็นที่คั่งค้างอยู่ในใจมานาน และทำให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบกว่าเดิม
            การเขียนสถานการณ์มิใช่เป็นการทำนายอนาคต (forecasting) สถานการณ์ที่ดีจึงมิได้อยู่ที่ว่าจะสามารถบรรยายอนาคตได้ถูกต้องเพียงใด แต่อยู่ที่ว่าจะสามารถชักนำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ การเขียนสถานการณ์มีสมมติฐานว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครทำนายได้ จึงพยายามสร้างสถานการณ์หลายภาพ เพื่อให้ครอบคลุมอนาคตที่เป็นไปได้ให้มากที่สุด อนาคตยิ่งไกลออกไปก็ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ดังนั้น การเขียนสถานการณ์จึงเหมาะสำหรับการมองอนาคตระยะกลางและระยะยาว ที่ไม่สามารถใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์โดยทั่วไปได้ เพราะขาดข้อมูลที่มีความชัดเจนพอ รวมทั้งปัญหาที่ซับซ้อนและไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว หรือผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) มีหลากหลายและอาจมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน ในการนี้ การเขียนสถานการณ์ระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีข้อดีที่ทำให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดสามารถหยุดคิดถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคลในปัจจุบันและกล้าคิดในสิ่งที่ปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าในอีก 10 ปี ทุกคนจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม หลายสิ่งจะเปลี่ยนไป ผู้เข้าร่วมระดมความคิดจึงมีอิสระที่จะวางแผนสำหรับคนรุ่นต่อไปได้

ความคิดเห็นของดิฉัน

                            ดิฉันคิดว่า Scenario Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการวางเป้าหมายของกิจการในอนาคตและการประเมินสถานการณ์ในมิติต่างๆ   เพื่อจะได้มีการวางแผนป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ในอนาคต   หากบริษัทไม่นำ Scenario Analysis มาใช้  บริษัทก็จะไม่สามารถที่จะคาดการณ์เหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  ส่งผลให้ไม่สามารถวางแผนการดำเนินงานในระยะยาวได้ว่าบริษัทจะไปในทิศทางใด  และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น  เนื่องจากไม่ได้เตรียมวิธีการแก้ไขไว้ล่วงหน้า  ทำให้บริษัทอาจประสบปัญหาในการดำเนินงานในอนาคตจนนำไปสู่ภาวะขาดทุนได้ แต่หากบริษัทมีการทำ Scenario Analysis  ก็จะทำให้บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น  เนื่องจากมีการเตรียมวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไว้ล่วงหน้าแล้ว  ส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะสามารถปรับตัวได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

ตัวอย่างความสำเร็จของการใช้ Scenario Analysis ที่มักมีผู้กล่าวขานถึง ได้แก่  กรณีของบริษัทเชลล์ ซึ่งได้ตัดสินใจวาดสถานการณ์ภาวการณ์น้ำมันในตลาดโลก ณ เวลาที่น้ำมันในขณะนั้นมีราคาคงที่ มิได้มีวิกฤตการณ์ใดๆ มาบีบบังคับให้บริษัทจำเป็นต้องเร่งวาดสถานการณ์แต่อย่างใด น้ำมันในตลาดโลกมีราคาคงตัวอยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลต่อเนื่องมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ราคาน้ำมันที่ค่อนข้างคงตัวนี้เองที่ทำให้บริษัทน้ำมันรายอื่นๆ มิได้ใส่ใจกับการเตรียมการการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใดเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม บริษัทเชลล์ได้คิดถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบรุนแรงต่อสถานการณ์น้ำมันโลก หากกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก (OPEC) มีท่าทีเปลี่ยนแปลง มีความขัดแย้ง หรือในทางตรงกันข้ามอาจรวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมันเพื่อบีบลูกค้า กลุ่มพนักงานของบริษัทเชลล์ที่ได้รับมอบหมายให้มองอนาคตได้วาดสถานการณ์ไว้ 2 ภาพ ภาพแรกเป็นภาพเหตุการณ์ราคาน้ำมันคงที่ ธุรกิจซื้อขายน้ำมันดำเนินไปตามปกติ ภาพที่สองเป็นภาพที่ OPEC รวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมัน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันในปี ค.ศ. 1973 บริษัทเชลล์สามารถรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ดี และได้ขยับตัวจากการเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ได้และมีกำไรสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทเชลล์ยังได้คาดการณ์การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียและตัดสินใจไม่เข้าไปลงทุนด้านก๊าซธรรมชาติ ทั้งที่บริษัทน้ำมันรายอื่นๆ หลายรายต่างเข้าไปลงทุนกัน เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น บริษัทน้ำมันต่างๆ ต้องเผชิญกับความวุ่นวาย และยังขาดทุนจากการลงทุนในรัสเซียด้วย จะเห็นได้ว่าการมองอนาคตของบริษัทเชลล์ให้ผลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมาก  (อ้างอิงจาก Wikipedia : scenario planning)