วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I learn ? (23/01/2012)



สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการเรียน เมื่อวันที่  23/01/2555  คือ


ลักษณะที่สำคัญของ  strategy  ได้แก่

               1. Response  คือ  กลยุทธ์ที่ดีต้องสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก(Driver)ได้  ซึ่งความสามารถนี้เรียกว่า Core competencies หรือ Organization capacity ซึ่งถือเป็น  Key  access  factor  โดยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง(Driver)นี้  ประกอบด้วย  Political,  Economic, Social, Technology,  และ Environment   หรือเรียกรวมกันว่า “PESTE”
               2. Fitness  คือ  การหาจุดที่เหมาะสมระหว่างผลิตภัณฑ์ที่เราเป็นผู้ผลิต กับตลาดซึ่งเป็นผู้บริโภคสินค้าของเรา  โดยกลยุทธ์ที่ดีจะต้องทำให้ Product(organization) = Market (environment)  ซึ่งองค์กรอาจนำเทคนิค SWOT เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดที่เหมาะสมดังกล่าวได้
สภาพแวดล้อมในแต่ละระดับย่อมมีความแตกต่างกันไป  ดังนั้นองค์กรจึงควรเลือกใช้กลยุทธ์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละระดับ  ดังนี้
ระดับ Macro  เนื่องมีขอบเขตที่กว้างมาก  ดังนั้นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้จึงเป็นCorporate  Strategy
ระดับ Industry  กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้ คือ Competitive  Strategy  หรือ  Business Strategy
ระดับ Functional  กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับนี้ คือ Functional  Strategy  ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ Business Strategy
                3. Alignment  คือ  กลยุทธ์ที่ดีต้องทำให้การดำเนินงานขององค์กรในทุกระดับมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน  โดยองค์กรอาจนำเครื่องมือ Balance score card  เข้ามาช่วยเพื่อให้องค์กรมีการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
               4. Symmetry  คือ  การมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Harmonize หรือ Symbiosis)  โดยส่วนใหญ่แล้วหลักของ Symmetry นี้ เราจะใช้นำไปในเรื่องของ พันธมิตรทางธุรกิจ
               “พันธมิตรทางธุรกิจ (Alliance)  คือการตกลงใหความรวมมือกันในการทําธุรกิจระหวางบริษัท ตั้งแต 2  บริษัทขึ้นไป โดยอาจจะเปนการใหความรวมมือกันในดานการขายสินคาการซื้อวัตถุดิบ การสงเสริมการขาย หรือในเรื่องอื่นๆก็ไดทั้งนี้เพื่อเปนการเสริมความแข็งแกรงแกบริษัทให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงอยางเชนทุกวันนี้
     5. Equilibrium  คือ การทำให้เกิด Balance of contrast forces   กล่าวคือ  การทำให้เกิดความสมดุลระหว่างแรง 2 ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน


Strategic  Thinking  จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้จากในห้องเรียนนั้น  ประกอบด้วย

                   1. Scope  คือ  ขอบเขตที่กำหนดว่าองค์กรเป็นใครในอุตสาหกรรมนั้นๆ  และอะไรคือสิ่งที่องค์กรควรทำหรือไม่ควรทำ (Do, Don’t)   Scope  เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า  Corporate  Strategy  ซึ่งจะถูกกำหนดโดย  Mission  ขององค์กรนั้นๆ
“ พันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์หรือความมุงหมายพื้นฐานขององคกรที่จะดําเนินการในระยะยาวอาจจะกล่าวได้ว่าเปนขอบเขตในการดําเนินงานขององคกรหรือบริษัทก็ได้   พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกตางและคุณคาขององคกรแตละแหงไดอยางชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบงบอกวาธุรกิจขององคกรคืออะไร  อะไรคือสิ่งที่องคกรตองการจะเปน และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
Scope  ประกอบด้วย  Market (เช่น Global  หรือ  Domestic ), Process ( เช่น ครบวงจร หรือ บางส่วน )  และ Product ( เช่น  เบา, หนัก, หรือ ไฮเทค )

                   2. Long  Term  คือ  การวิเคราะห์อดีต และจำลองเหตุการณ์ในอนาคตเพื่อให้เห็นอนาคตที่ชัดเจน  แล้วจึงวางแผนในปัจจุบัน ซึ่งการวิเคราะห์นี้จะใช้แนวคิดแบบ Logic Thinking (หลักของเหตุผล การกระทำในปัจจุบันจะก่อให้เกิดเหตุการณ์ในอนาคต)  และในการจำลองเหตุการณ์ในอนาคตนี้ต้องใช้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจควบคู่กับการใช้สัญชาตญาณของตนเองเสมอ
การทำนายอนาคตนั้นมี 3 แบบ คือ
1) Forecasting  (การทำนาย) คือ การประเมินว่าจะเกิดอะไรในอนาคต  โดยมากจะทำโดยการนำข้อมูลจากอดีตมาผสมผสานกันอย่างเป็นระบบ  แล้วทำการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรในอนาคต
2) Scenario Analysis  (การวิเคราะห์สถานการณ์) คือ  กระบวนการสำหรับวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณาจากสถานการณ์ในทางเลือกที่เป็นไปได้   โดยสถานการณ์นั้นสร้างขึ้นมาโดยอาศัยโครงเรื่อง (plot) ที่มาจากแนวโน้ม (trends) ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต สถานการณ์จึงมีได้หลายสถานการณ์ขึ้นอยู่กับชุดแนวโน้มและความไม่แน่นอนที่เลือกมาประกอบกันเป็นโครงเรื่อง
3) Foresight  (การมองอนาคต)  เป็นกระบวนการที่ดำเนินอย่างเป็นระบบ ในการมองไปในอนาคตของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม เพื่อการส่งเสริมให้เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การมองอนาคตไม่ใช่การทำนาย (forescast) ที่สันนิษฐานอนาคตเพียงรูปแบบเดียว หลักสำคัญของการมองอนาคตคือ การดำเนินการที่เป็นระบบ มีขั้นตอนชัดเจน และมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) เพื่อให้เข้าใจถึงแรงผลักดันต่างๆ ทั้งที่เห็นชัดและที่ยังไม่เห็นชัด ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของอนาคต และทำให้เห็นลู่ทางที่จะต้องกระทำในวันนี้เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น

3. Advantage  คือ ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive advantage)  ซึ่งมี 3 แบบ ได้แก่
1) Monopoly Rent (การผูกขาด)  คือ  การที่ผู้ผลิตรวมตัวกันได้ หรือมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะกำหนด
ราคาสินค้าได้ โดยผู้ผลิคที่มีอำนาจผูกขาดมักจะตั้งราคาที่สูงกว่าราคาที่กำหนดโดยตลาดเสรี 
2) Richardian Rent คือ  การที่องค์กรมีความเหนือกว่าคนอื่น  เช่น  การมีทรัพยากรที่หายาก (Scared Resources) เป็นต้น  ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน 
3) Entreprenuerial Rent หรือ Schumpeterian Rent คือ  การที่องค์กรมีกำไรที่เหนือกว่ากำไรปกติหรือเหนือกว่าคู่แข่ง  โดยสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ประกอบการมีทักษะหรือเงินลงทุนในการบริหารจัดการ บริษัทอาจลงทุนในการโฆษณา  การฝึกอบรมของพนักงาน  และอื่น ๆ เงินลงทุนเหล่านี้จะส่งผลในราคาที่สูงขึ้น (แบรนด์) หรือต้นทุนที่ลดลง (เทคโนโลยีที่ดีกว่า)  ทำให้ได้กำไรมากกว่าคู่แข่ง

4                 4. Environment  มักจะมีการเปลี่ยนอยู่เสมอ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราควรใช้  Stakeholder Analysis เราต้องวิเคราะห์ที่ผู้กระทำ  ไม่ใช่ภาวการณ์กระทำ
“Stakeholder Analysis (การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) เป็นการวิเคราะห์กรณีปัญหาหรือวิเคราะห์โครงการข้อมูลของกลุ่มเพื่อใช้ในการตัดสินใจของผู้บริหารโครงการ ในการจัดทำโครงการ หรือสร้างสรรค์แนวความคิดของผู้นำ


              แต่จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเพิ่มเติมจากทางอินเตอร์เน็ต พบว่า  Strategic  Thinking  มีความแตกต่างจากที่อาจารย์กล่าวไปบ้าง  ดังนี้
                จากเว็บไซต์ได้กล่าวว่า ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) คือเรื่องสำคัญที่ไม่ได้ให้ความสนใจกันมากนักในการเรียนรู้ หรือการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ เนื่องจากเป็นรูปแบบของการพัฒนาแบบต่อเนื่อง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นกึ๋นของผู้นำที่ต้องมีติดตัว แต่ในความจริงแล้วสามารถฝึกได้ และควรให้ความสำคัญมากในขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์
Strategic Thinking เป็นกระบวนการคิดที่ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องฝึกตลอดเวลา (On going process) ให้เกิดเป็นทักษะ ความคิดเชิงกลยุทธ์เกิดขึ้นได้ทั้งในงาน และในการมองเห็นทั่วๆไป ผู้ที่ฝึกคิดเชิงกลยุทธ์มักจะมี คำถาม’ (Why) อยู่เสมอ เมื่อได้พบเห็นสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องค้นหาคำตอบ เกิดการวิเคราะห์ข้อมูล และการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ อย่างรอบด้าน  ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้นำควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.             การคิดบวก
2.             มองภาพรวม
3.             หาข้อมูลรอบด้าน
4.             คิดหลากหลาย
5.             มี FOCUS
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://victor2514.wordpress.com/tag/strategic-thinking/
             
               แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่า Strategic  Thinking  จะควรคำนึงถึงสิ่งใด  แต่สุดท้ายก็ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามที่องค์กรได้คาดหวังไว้








วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

Scenario Analysis

What is Scenario Analysis ???


              จากคลิปวีดีโอนี้และจากการค้นคว้าใน Wikipedia  ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่า  "Scenario Analysis"  มากขึ้น  กล่าวคือ  Scenario Analysis หรือ การวิเคราะห์สถานการณ์ คือ  กระบวนการสำหรับวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณาจากสถานการณ์ในทางเลือกที่เป็นไปได้   โดยสถานการณ์นั้นสร้างขึ้นมาโดยอาศัยโครงเรื่อง (plot) ที่มาจากแนวโน้ม (trends) ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและความไม่แน่นอน (uncertainties) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต สถานการณ์จึงมีได้หลายสถานการณ์ขึ้นอยู่กับชุดแนวโน้มและความไม่แน่นอนที่เลือกมาประกอบกันเป็นโครงเรื่อง เราจะเลือกโครงเรื่องที่แตกต่างกันและครอบคลุมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตให้มากที่สุดโดยทั่วไปประมาณ 3-4 โครงเรื่อง ดังนั้น สถานการณ์คือ ภาพรวมเหตุการณ์ในอนาคตที่เป็นจริงได้ (possible) และเกี่ยวข้องกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจ (relevant) แต่ละภาพจะเป็นการดำเนินเรื่องเล่าที่ไม่มีการขัดแย้งภายใน และมีทั้งเหตุการณ์ที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ กระบวนการสร้างสถานการณ์จะกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำให้กล้าคิดนอกกรอบปัจจุบัน กล้าหาวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหาเดิม การสร้างสถานการณ์เป็นการซักซ้อมอนาคตให้เข้าใจถึงผลการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงผลักดันต่างๆ ซึ่งอาจเสริมกันหรือหักล้างกัน ซึ่งอาจชักนำให้เกิดการตัดสินในในประเด็นที่คั่งค้างอยู่ในใจมานาน และทำให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ที่รอบคอบกว่าเดิม
            การเขียนสถานการณ์มิใช่เป็นการทำนายอนาคต (forecasting) สถานการณ์ที่ดีจึงมิได้อยู่ที่ว่าจะสามารถบรรยายอนาคตได้ถูกต้องเพียงใด แต่อยู่ที่ว่าจะสามารถชักนำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีกว่าเดิมหรือไม่ การเขียนสถานการณ์มีสมมติฐานว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ไม่มีใครทำนายได้ จึงพยายามสร้างสถานการณ์หลายภาพ เพื่อให้ครอบคลุมอนาคตที่เป็นไปได้ให้มากที่สุด อนาคตยิ่งไกลออกไปก็ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น ดังนั้น การเขียนสถานการณ์จึงเหมาะสำหรับการมองอนาคตระยะกลางและระยะยาว ที่ไม่สามารถใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์โดยทั่วไปได้ เพราะขาดข้อมูลที่มีความชัดเจนพอ รวมทั้งปัญหาที่ซับซ้อนและไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว หรือผู้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ (stakeholders) มีหลากหลายและอาจมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน ในการนี้ การเขียนสถานการณ์ระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีข้อดีที่ทำให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดสามารถหยุดคิดถึงผลประโยชน์ส่วนบุคคลในปัจจุบันและกล้าคิดในสิ่งที่ปัจจุบันนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าในอีก 10 ปี ทุกคนจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม หลายสิ่งจะเปลี่ยนไป ผู้เข้าร่วมระดมความคิดจึงมีอิสระที่จะวางแผนสำหรับคนรุ่นต่อไปได้

ความคิดเห็นของดิฉัน

                            ดิฉันคิดว่า Scenario Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการวางเป้าหมายของกิจการในอนาคตและการประเมินสถานการณ์ในมิติต่างๆ   เพื่อจะได้มีการวางแผนป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ในอนาคต   หากบริษัทไม่นำ Scenario Analysis มาใช้  บริษัทก็จะไม่สามารถที่จะคาดการณ์เหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้  ส่งผลให้ไม่สามารถวางแผนการดำเนินงานในระยะยาวได้ว่าบริษัทจะไปในทิศทางใด  และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น  เนื่องจากไม่ได้เตรียมวิธีการแก้ไขไว้ล่วงหน้า  ทำให้บริษัทอาจประสบปัญหาในการดำเนินงานในอนาคตจนนำไปสู่ภาวะขาดทุนได้ แต่หากบริษัทมีการทำ Scenario Analysis  ก็จะทำให้บริษัทสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น  เนื่องจากมีการเตรียมวิธีการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไว้ล่วงหน้าแล้ว  ส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะสามารถปรับตัวได้เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

ตัวอย่างความสำเร็จของการใช้ Scenario Analysis ที่มักมีผู้กล่าวขานถึง ได้แก่  กรณีของบริษัทเชลล์ ซึ่งได้ตัดสินใจวาดสถานการณ์ภาวการณ์น้ำมันในตลาดโลก ณ เวลาที่น้ำมันในขณะนั้นมีราคาคงที่ มิได้มีวิกฤตการณ์ใดๆ มาบีบบังคับให้บริษัทจำเป็นต้องเร่งวาดสถานการณ์แต่อย่างใด น้ำมันในตลาดโลกมีราคาคงตัวอยู่ที่ 2 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลต่อเนื่องมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ราคาน้ำมันที่ค่อนข้างคงตัวนี้เองที่ทำให้บริษัทน้ำมันรายอื่นๆ มิได้ใส่ใจกับการเตรียมการการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงใดเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม บริษัทเชลล์ได้คิดถึงความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบรุนแรงต่อสถานการณ์น้ำมันโลก หากกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก (OPEC) มีท่าทีเปลี่ยนแปลง มีความขัดแย้ง หรือในทางตรงกันข้ามอาจรวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมันเพื่อบีบลูกค้า กลุ่มพนักงานของบริษัทเชลล์ที่ได้รับมอบหมายให้มองอนาคตได้วาดสถานการณ์ไว้ 2 ภาพ ภาพแรกเป็นภาพเหตุการณ์ราคาน้ำมันคงที่ ธุรกิจซื้อขายน้ำมันดำเนินไปตามปกติ ภาพที่สองเป็นภาพที่ OPEC รวมหัวกันขึ้นราคาน้ำมัน เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันในปี ค.ศ. 1973 บริษัทเชลล์สามารถรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ดี และได้ขยับตัวจากการเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่อันดับ 7 ของโลก ขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ได้และมีกำไรสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทเชลล์ยังได้คาดการณ์การล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ในรัสเซียและตัดสินใจไม่เข้าไปลงทุนด้านก๊าซธรรมชาติ ทั้งที่บริษัทน้ำมันรายอื่นๆ หลายรายต่างเข้าไปลงทุนกัน เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น บริษัทน้ำมันต่างๆ ต้องเผชิญกับความวุ่นวาย และยังขาดทุนจากการลงทุนในรัสเซียด้วย จะเห็นได้ว่าการมองอนาคตของบริษัทเชลล์ให้ผลที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมาก  (อ้างอิงจาก Wikipedia : scenario planning)



วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I learn ? (16/01/2012)

What  did  I  learn ??? 

สิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในคาบนี้ คือ ความหมายของกลยุทธ์ซึ่งมีหลากหลายความหมายทั้ง Plan, Pattern, และ Position  แต่ทั้ง 3 ความหมายต่างก็มีสิ่งที่กล่าวเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์หลักขององค์กรก่อนว่าต้องการอะไร  และหาวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ  ลักษณะที่สำคัญของกลยุทธ์ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้  นั่นคือ  กลยุทธ์ต้องสามารถยืดหยุ่นหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว (Response),  ต้องกำหนดกลยุทธ์ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม (Fitness),  การดำเนินงานต่างๆในองค์กรต้องมีจุดหมายเดียวกัน  เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Alignment)ต้องกำหนดกลยุทธ์ให้สามารถเปลี่ยนแปลงตามคู่แข่งได้ทัน (Symmetry)  และสุดท้ายกลยุทธ์ต้องอยู่ในภาวะดุลยภาพตลอดเวลา (Equilibrium)   แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกลยุทธ์ต้องอยู่ภายใต้ สิ่ง ได้แก่  Economy of scale  เพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด,  Economy of scope  เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและหลากหลายมากขึ้น  และ Economy of speed  เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันจากการที่เข้าถึงตลาดได้ก่อนคู่แข่งรายอื่น  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะองค์กรต้องพิจารณาจากหลายๆด้านประกอบกัน  แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป  หากองค์กรมีความเข้าใจในธุรกิจของตนเองและเข้าใจในคำว่า “กลยุทธ์”  อย่างแท้จริง


วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

Strategy Vs Tactics 



          
       กลยุทธ์ (strategies) หมายถึง แผนการปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายซึ่งมีความสำคัญต่อบริษัทเป็นอย่างมาก    กลยุทธ์เป็นการผสมผสานระหว่างความคิดระยะยาว (Long term thinking)  และความคิดสร้างสรรค์ (Innovative thinking)  โดยเป็นการมองเชิงกว้างในอนาคต  เพื่อพิจารณาดูว่าบริษัทควรจะก้าวไปในทิศทางใด  และบริษัทจะเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างไรบ้าง  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทที่วางไว้  และเนื่องจากกลยุทธ์เป็นการมองไปในอนาคต  ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะผิดพลาดได้  เพราะฉะนั้นผู้บริหารจึงควรมีความระมัดระวังรอบคอบในการวางแผนเชิงกลยุทธ์  ซึ่งแตกต่างจาก  ยุทธวิธี (tactics) เพราะยุทธวิธีเป็นการนำเอารายละเอียดของกลยุทธ์มาปฏิบัติ มีการแสดงรายละเอียดและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่ากลยุทธ์ และยุทธวิธีจะใช้ภายในช่วงเวลาสั้นกว่ากลยุทธ์

สำหรับความคิดของดิฉันนั้น  ดิฉันคิดว่ากลยุทธ์ (strategies) และ ยุทธวิธี (tactics) มีความสำคัญเท่าๆกัน เพราะยุทธวิธีเป็นวิธีที่ทำให้บริษัทบรรลุกลยุทธ์ที่วางไว้ และนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของบริษัทต่อไป  ถ้าหากบริษัทกำหนดเพียงแค่กลยุทธ์แต่มิได้กำหนดยุทธวิธี  ก็จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ยาก  เพราะกลยุทธ์เป็นเพียงกรอบกว้างๆในการดำเนินงานของบริษัทที่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  แต่ยุทธวิธีเป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  เพื่อให้พนักงานของบริษัทเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้  ดังนั้น บริษัทจะประสบความสำเร็จไม่ได้  ถ้าไม่มีการใช้กลยุทธ์และยุทธวิธีควบคู่กันไป