วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Newspaper Scanning(2)

Singapore Airlines : losing altitude 
February 3, 2012 7:23 pm

                Oh, to be Singapore Airlines. Undershoot profit forecasts, halving net income in the process, and watch shares slip just a little. It helps that Temasek, the state investment agency, holds more than half the stock. This was the carrier’s fifth profit fall in a row. Compared with rivals, its shares are starting to look expensive.
                Asia is still where airlines want to be. The International Air Transport Association predicts 2 per cent growth in passenger travel in the region next year, just below the 2.2 per cent seen for the US. However, net profits for the region are expected to rise by 2.1 per cent, compared with 1.7 per cent for US carriers. But meeting bottom-line targets will be hard given pressures such as rising jet fuel prices. Just ask Singapore Airlines. It did in fact squeeze out a 1 per cent rise in revenues compared with last year, but that was swamped by a 12 per cent rise in costs, almost all related to fuel. Its operating margin shrank accordingly, from 13 per cent to 4 per cent. Ouch.
              That only puts more emphasis on efficiency. This is where Singapore Airlines falls a little short: its load factor was 77 per cent last quarter. That is just above Iata’s December average of 76 per cent for the region, but below the latest figures of 80 per cent and 79 per cent from rivals Qantas andCathay Pacific. On other measures, however, Singapore Airlines is highly rated, especially compared with Qantas. The Australian airline trades at 0.3 times its sales and 10 times forward earnings, well below Singapore Airlines’ 0.9 and 18 times, and Cathay Pacific’s 0.6 and 11 times.True, Qantas has been hampered by labour relations, and investors also fear a cash call to fund fleet replacement plans. But, compared with Singapore Airlines, Qantas is cheap, battle-hardened and has made some progress on costs. It appears the better bet, for now.


                    ไม่น่าเชื่อว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์จะมีการคาดการณ์ผลกำไรที่ต่ำกว่าเป้าหมาย  มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานลดลง  และหุ้นไม่มีความคล่องตัว   ส่งผลให้ Temasek ซึ่งเป็นหน่วยงานการลงทุนของรัฐ ได้เข้ามาถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่ง  ครั้งนี้ถือเป็นการลดลงของกำไรครั้งที่ 5 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์   เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ราคาหุ้นของพวกเขาเริ่มมีราคาแพงขึ้น
              ทวีปเอเชียยังคงเป็นที่ที่สายการบินหลายสายต้องการอยู่    The International Air Transport Association  ได้ทำนายว่า ปีต่อไปจะมีการเติบโตอีก 2% ในผู้โดยสารแถบเอเชีย  ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเพียงแค่ 2%จากผู้โดยสารในทวีปอเมริกา  อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิของสายการบินในทวีปเอเชียถูกคาดว่าจะเพิ่มอีก 2.1%  ในขณะที่สายการบินในทวีปอเมริกาจะเพิ่มอีก 1.7%   แต่เป้าหมายระดับล่างคาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น   ความจริงแล้ว สิงคโปร์แอร์ไลน์สามารถทำให้รายได้เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อน  แต่มันก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 12% ซึ่ง 12% นี้ส่วนใหญ่เกิดจากค่าเชื้อเพลิง  ดังนั้นกำไรจากการดำเนินงานของสิงคโปร์แอร์ไลน์จึงลดลงจาก 13% เป็น 4%
                การมุ่งเน้นเพียงประสิทธิภาพ   ทำให้สิงคโปร์แอร์ไลน์มีการลดลงเล็กน้อยในผลการดำเนินงานในระยะสั้น กล่าวคือ เมื่อไตรมาสที่แล้ว load factor ของสิงคโปร์แอร์ไลน์อยู่ที่ 77%  ซึ่งถือว่าอยู่เหนือค่าเฉลี่ยของสายการบินในทวีปเอเชียที่อยู่ที่ 76%  แต่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งอย่าง  Qantas (80%) และ Cathay Pacific (79%)  แต่อย่างไรก็ตามสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยังคงมีอัตราของการดำเนินงานอื่นๆที่สูง  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Qantas    Qantas  ถูกขัดขวางจากแรงงานสัมพันธ์และนักลงทุนของ Qantas ยังเกรงกลัวการเรียกเงินสดเพื่อกองทุนแผนการทดแทนฝูงบินอยู่  เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์แอร์ไลน์  ถือว่า Qantas มีราคาถูกกว่า  ดังนั้นการต่อสู้ที่แข็งแกร่งและการมีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ถูกกว่า ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับในตอนนี้

    ความคิดเห็น
                จะเห็นว่าถึงแม้สิงคโปร์แอร์ไลน์จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทแย่ลง  แต่สิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ยังต่อสู้อย่างแข็งแกร่งกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น  จนในปัจจุบันสามารถกลับมายืนหยัดเหนือคู่แข่งได้ และได้ชื่อว่าเป็นสายการบินที่ดีที่สุด 1 ใน 3 ของโลก  โดยแนวความคิดที่สิงคโปร์แอร์ไลน์นำมาใช้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ คือ การตั้งมั่นอยู่ในสติที่ดีเพื่อให้มองเห็นถึงทางออกของปัญหา  ทำให้สามารถพลิกวิกฤติกลับมาเป็นผลกำไรได้  ด้วยการมองเห็นถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ยังมีความต้องการ และที่สำคัญยังมีกำลังซื้ออยู่  ดังนั้นสิงคโปร์แอร์ไลน์จึงตัดสินใจลงทุนปรับปรุงเครื่องบินทำเก้าอี้เป็นชั้นธุรกิจ (business class) ทั้งลำ  ส่งผลให้ได้รับความนิยมทันทีและสามารถจำหน่ายตั๋วได้ดีกว่าเดิม

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Newspaper Scanning(1)

 Singapore Airlines Finds Cracks 

In Wings Of 4 Airbus A380s 

By David Pearson, Dow Jones Newswires
JANUARY 25, 2012, 12:42 P.M

              PARIS (Dow Jones)--Singapore Airlines Ltd. (C6L.SG) said Wednesday that inspections on four of its Airbus A380 superjumbos have revealed cracks in the wing rib brackets inside the wings of the double-decker aircraft and that repairs have either been carried out or are underway.

                       Parts have been replaced on one of the aircraft and it is back in service, the airline said. Repairs will be carried out on the other three planes, it said.
                       The inspections were ordered last week by the European Aviation Safety Agency on a third of the 60 A380s in service.
                       The plane is made by Airbus, a division of European Aeronautic Defence & Space Co NV (EAD.FR).
                       Singapore Airlines said the EASA Airworthiness Directive requires that it carry out checks on six of its 16 A380s by the morning of Jan. 28 and to carry out any necessary repairs.
                       The EASA directive also applies to aircraft operated by Dubai-based Emirates Airline and Air France-KLM (AF.FR) with a high number of takeoffs and landings.
                       Singapore Airlines said: "The safety of our customers and crew is our number one priority and we will ensure that we take whatever action is needed for the continued safe operation of our A380 fleet. We have been liaising closely with Airbus and are keeping the relevant regulatory authorities fully informed."
                       Airbus has insisted that the aircraft are safe to fly. 


             จากข่าวสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้กล่าวเมื่อวันพุธ ที่ 25 มกราคม 2555 ว่า จากการตรวจสภาพเครื่องบินแอบัส A380 superjumbo จำนวน 4 ลำ  พบรอยแตกอยู่บริเวณเอ็นปีกของเครื่องบิน  และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไข
เครื่องบินลำหนึ่งสามารถนำกลับมาใช้บริการได้ด้วยการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางอย่าง  ส่วนอีก 3 ลำที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการซ่อมแซม  
การตรวจสอบครั้งนี้ถูกสั่งโดยสำนักงานความปลอดภัยการบินยุโรป เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
เครื่องบินแอบัส A380 superjumbo นี้ถูกผลิตโดย Airbus  ซึ่งเป็นแผนกของ European Aeronautic Defence & Space Co NV (EAD.FR)
สิงคโปร์แอร์ไลน์ กล่าวว่า EASA Airworthiness Directive ได้กำหนดให้ SIA ต้องดำเนินการตรวจสภาพเครื่องบินแอบัส A380 ทุกลำ  และดำเนินการซ่อมแซมในส่วนที่จำเป็น
EASA directive ยังนำมาใช้กับ Emirates Airline ของดูไบ และ Air France-KLM (AF.FR) ซึ่งมีจำนวนครั้งของการ takeoffs และ landings  ในจำนวนที่สูง
สิงคโปร์แอร์ไลน์ กล่าวว่า "ความปลอดภัยของลูกค้าและลูกเรือของเราเป็นเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญและพวกเรารับรองได้ว่าพวกเราได้ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องบินอยู่เสมอ  เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางด้วยเครื่องบินแอบัส A380 ของเรา  เนื่องจากพวกเราได้รับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอย่างใกล้ชิดจาก Airbus ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินแอบัส A380
Airbus ได้ยืนยันว่าเครื่องบินแอบัส A380 มีความปลอดภัยในการบิน


ความคิดเห็น

การที่สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของลูกค้าและลูกเรือเป็นอย่างมาก  ดังจะเห็นได้จากข่าวข้างต้นที่จะมีการตรวจสภาพและบำรุงรักษาเครื่องบินอยู่เสมอ   ถึงแม้ว่าการบำรุงรักษาแต่ละครั้งจะต้องเสียต้นทุนมากก็ตาม  จึงแสดงให้เห็นว่าสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ให้ความสำคัญกับ Stakeholder  (เช่น ลูกค้า, พนักงาน, ฯลฯ)  นอกเหนือจาก Shareholder  เนื่องจากสิงคโปร์แอร์ไลน์ไม่ได้ดำเนินงานเพื่อมุ่งหวังกำไรเพียงอย่างเดียว  แต่พวกเขามุ่งถึงคุณภาพของบริการและความปลอดภัยของผู้โดยสารด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

What did I learn ? (30/01/2012) - Rationality & Irrationality

        ทำไม Rationality จึงทำงานได้ไม่ดี  แต่ Irrationality จึงทำงานได้สำเร็จ  เพราะเหตุใด ?



Rationality   คือ การดำเนินงานโดยใช้หลักของเหตุผล มีหลักตายตัวในการทำงาน ต้องทำตามกลยุทธ์ที่วางไว้ การตัดสินใจต่างๆจะต้องมีเหตุและผลเข้ามาเกี่ยวข้อง   โดยหลัก Rationality  นั้นคือการดำเนินงานภายใต้การควบคุมพฤติกรรมของทุกคนในองค์กรให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้โดยผู้บริหารที่ทำการตกลงร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าเป็นการดำเนินงานโดยรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง หรือแบบ Top down  ส่งผลให้กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ควรจะเป็น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นอยู่จริง เนื่องจากถูกกำหนดจากผู้บริหารที่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติงานจริง  จึงทำให้ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงในการทำงาน   และการวางแผนที่ชัดเจนเช่นนี้อาจทำให้องค์กรขาดความยืดหยุ่นและไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามกระแสของโลกหรือตามคู่แข่งขันได้ไม่ทัน  หากแผนการที่วางไว้นั้นไม่ได้เป็นอย่างที่ต้องการหรือไม่ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าในปัจจุบัน   ดังนั้นการดำเนินงานเช่นนี้จึงไม่ค่อยเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   นอกจากนี้การดำเนินงานโดยรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางยังทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดด้วย ซึ่งได้แก่ ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ของคนในองค์กร    แต่การดำเนินงานแบบ Rationality ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเสมอไป  เพราะการดำเนินงานแบบ Rationality นั้น  จะทำให้องค์กรมีระเบียบวินัยและมีมาตรฐาน สามารถควบคุมได้ มีความชัดเจนในหน้าที่ นอกจากนี้ การที่องค์กรมีแบบแผน มาตรฐานและการควบคุมการดำเนินงานต่างๆ จะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำได้อย่างดี ซึ่งเหมาะกับระบบข้าราชการ หรือองค์กรที่มีลักษณะแบบเครื่องจักร 

ในขณะที่การดำเนินงานแบบ Irrationality สามารถทำงานได้ดีกว่าในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะแนวคิดแบบนี้มีความยืดหยุ่นโดยจะกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ซึ่งจะใช้หลายกลไกร่วมกัน ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ   เนื่องจากการดำเนินงานแบบ Irrationality  เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกส่วนของธุรกิจได้แสดงความเห็นและมีโอกาสร่วมในการตัดสินใจถึงการกำหนดทิศทางขององค์กร ทำให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในธุรกิจ เนื่องจากพนักงานเป็นคนที่ได้ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นจึงทราบถึงปัญหาที่แท้จริงในการทำงาน เพื่อให้องค์กรสามารถหาทางแก้ปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่  การดำเนินงานแบบ Irrationality จะสามารถทำงานในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านอย่างรวดเร็ว  ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินงานแบบ Rationality  

What did I learn ? (30/01/2012)


Singapore Airlines - Strategic As